วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ห่วงโซ่อาหาร (Food chain)



          การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ล้วนมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันทั้งสัตว์และพืช เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (Food chain)
สิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ร่วมกัน

ประเภทของระบบนิเวศ          

การจำแนกระบบนิเวศสามารถจำแนกได้เป็นหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้
แบ่ง ได้แก่
               1. การจำแนกโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
                            1) ระบบนิเวศพื้นดิน (Terrestrial Ecosystem) เช่น ระบบนิเวศป่าดิบเขา, ระบบนิเวศป่าชายเลน, ระบบนิเวศป่าเต็งรัง, ระบบนิเวศทุ่งหญ้า, ระบบนิเวศทะเลทราย, ระบบนิเวศป่าดิบชื้นเขตศูนย์สูตร
                            2) ระบบนิเวศน้ำ (Aquatic Ecosystem) เช่น ระบบนิเวศน้ำจืด, ระบบนิเวศน้ำเค็ม, ระบบนิเวศน้ำกร่อย
               2. การจำแนกโดยใช้แบบแผนของการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร แบ่งออกเป็น
3 แบบ คือ
                            1) ระบบนิเวศอิสระ (Lsolated Ecosystem) คือ ระบบนิเวศที่ไม่มีการถ่ายเท
สารอาหารและพลังงานระหว่างภายในระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นระบบ
นิเวศ ที่ไม่มีในธรรมชาติ แต่นักนิเวศวิทยาพยายามคิดค้นขึ้น
                           2) ระบบนิเวศแบบปิด (Closed Ecosystem) คือระบบนิเวศที่มีเฉพาะการถ่ายเท
พลังงาน (แสงสว่าง) แต่ไม่มีการถ่ายเทสารอาหารระหว่างภายในระบบกับภายนอกระบบนิเวศ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่มีในธรรมชาติ เช่น ตู้ปลา
                           3) ระบบนิเวศแบบเปิด (Open Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีทั้งการถ่ายเทสาร
อาหารและพลังงานระหว่างระบบภายนอกกับระบบนิเวศภายใน เช่น สระน้ำ
ทุ่งหญ้า ป่าไม้
               3. จำแนกโดยใช้ขนาดพื้นที่ของระบบนิเวศนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขนาด คือ
                          1) ระบบนิเวศขนาดใหญ่ เช่น ป่าเบญจพรรณ ทะเลสาบ มหาสมุทร ทุ่งหญ้า เป็นต้น
                          2) ระบบนิเวศขนาดเล็ก เช่น แอ่งน้ำในล้อยางรถยนต์เก่า กิ่งไม้ผุในป่า เป็นต้น
               4. จำแนกโดยใช้ลักษณะการนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
การดำรงชีพ สามารถแบ่งได้ดังนี้
                          1) ระบบนิเวศสมบูรณ์ หมายถึง ระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบครบทั้งส่วนที่เป็น
กลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย และกลุ่มที่เป็นปัจจัยทางกายภาพ เช่น แสง ความชื้น อากาศ เป็นต้น ระบบนิเวศส่วนใหญ่ในธรรมชาติจะเป็นแบบนี้ เช่น สระน้ำ ป่าผลัดใบ
                         2) ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์ หมายถึง ระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบไม่ครบอาจขาด
ปัจจัย บางส่วนในระบบนิเวศนั้น เช่น บริเวณเขตทะเลลึกที่แสงส่องไม่ถึงในที่แสงส่องไม่ถึง พบหลายแห่งในประเทศไทย เช่น เทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาสเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก ถ้ำค้างคาวร้อยล้าน จังหวัดราชบุรี ถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นระบบนิเวศ ไม่สมบูรณ์นี้ส่วนใหญ่จะไม่มีผู้ผลิต โดยเฉพาะพืช ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ของผู้บริโภคในเขตระบบนิเวศแบบนี้ต้องกินซากอินทรีย์จากการตกตะกอนหรือออกไป
กินในบริเวณอื่น เช่น พวกค้างคาวที่อาศัยในถ้ำ แต่ไปหากินที่อื่น เป็นต้น










ห่วงโซ่อาหาร (Food Chain)

          หมายถึง  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ  จาก  ผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากการกินต่อกัน    เป็นลำดับเชื่อมโยงเส้นตรงในสายใยอาหารโดยเริ่มจากพืชและต่อด้วยสัตวกินพืชจากนั้นจะเกิดการกินเป็นทอดๆ ห่วงโซ่อาหารแตกต่างจากสายใยอาหาร เพราะสายใยมีเครือข่ายความสัมพันธ์การกินที่ซับซ้อน แต่ห่วงโซ่มีเส้นทางการกินเพียงอย่างเดียวเป็นเส้นตรงเท่านั้น ตัววัดทั่วไปที่ใช้บอกจำนวนโครงสร้างเชิงอาหารของสายใยอาหารคือ ความยาวห่วงโซ่อาหาร ในรูปแบบง่ายที่สุด ความยาวของห่วงโซ่อาหาร คือ จำนวนเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับฐานของสายใย และความยาวโซ่เฉลี่ยของสายใยทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวห่วงโซ่ทั้งหมดในสายใยอาหาร
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68140/-blo-scibio-sci-

จากแผนภาพจะเห็นว่า การกินต่อกันเป็นทอดๆในห่วงโซ่อาหาร จะเริ่มต้นจาก ข้าวเป็นผู้ผลิต ตามด้วยตั๊กแตนกินใบข้าว กบกินตั๊กแตน และเหยี่ยวมากินกบ โดยจะอธิบายจากแผนภาพง่ายๆคือ

>>ต้นข้าวคือผู้ผลิตเนื่องจากสามารถสร้างอาหารเองได้โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
>>ตั๊กแตน เป็นผู้บริโภคอันดับที่ 1 เนื่องจากตั๊กแตนกินใบข้าว
>>กบ เป็นผู้บริโภคอันดับที่ 2 เนื่องจากกบกินตั๊กแตน
>>เหยี่ยว เป็นผู้บริโภคอันดับสุดท้าย เนื่องจากเหยี่ยวมากินกบ และไม่มีสัตว์ในมากินเหยี่ยวต่อ
















สายใยอาหาร(Food Wed)








                 หมายถึง ห่วงโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความคาบเกี่ยวหรือสัมพันธ์กัน   นั่นคือ ในธรรมชาติการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในโซ่อาหาร จะมีความซับซ้อนกันมากขึ้น คือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ
               บรรยายความสัมพันธ์แบบการกินกันในชุมชนนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาสามารถรวบรวมรูปแบบชีวิตทุกชนิดอย่างกว้างขวางเป็นหนึ่งในสองหมวดหมู่ที่เรียกว่า ระดับหรือลำดับขั้นการกินอาหาร ได้แก่  ออโตทรอพ และเฮเทโรทรอพ ในการบำรุงเลี้ยงร่างกาย การเจริญเติบโต การพัฒนา และเพื่อสืบพันธุ์ของตน พวกออโตทรอพผลิตอินทรีย์   จาก  อนินทรีย์สาร รวมถึงทั้งแร่ธาตุและแก๊ส  เช่น  คาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์เป็นหลักและส่วนใหญ่โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง แม้ปริมาณน้อยมากมาจากปล่องไฮโดรเทอร์มอลและน้ำพุร้อน มีการไล่ระหว่างระดับการกินอาหารตั้งแต่ออโตทรอพสมบูรณ์ซึ่งมีแหล่งคาร์บอนจากบรรยากาศเพียงแหล่งเดียว ไปจนถึงมิกโซทรอพ (เช่น พืชกินสัตว์) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตออโตทรอพที่ได้รับอินทรีย์สารบางส่วนจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากบรรยากาศ และเฮเทโรทรอพสมบูรณ์ซึ่งได้รับอินทรีย์สารโดยการกินออโตทรอพและเฮเทโรทรอพอื่น สายใยอาหารเป็นการแสดงหลากหลายวิธีการกินอย่างง่าย ซึ่งเชื่อมโยงระบบนิเวศเข้าด้วยกันเป็นระบบการแลกเปลี่ยนรวม มีความสัมพันธ์การกินกันหลายประเภทซึ่งสามารถแบ่งได้อย่างหยาบ ๆ เป็นการกินพืช กินสัตว์ กินซาก และภาวะปรสิต อินทรีย์สารบางอย่างที่กินโดยเฮเทโรทรอพ เช่น น้ำตาล ให้พลังงาน ออโตทรอพและเฮเทโรทรอพมีทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงหนักหลายตัน จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไปจนถึงต้นไม้ยักษ์ และจากไวรัสไปจนถึงวาฬสีน้ำเงิน




16 ความคิดเห็น:

  1. ดีคับ กำลังต้องการเรื่องนี้พอดีเลย

    ตอบลบ
  2. สีสันสวยมากค่ะ สบายตา ตัวหนังสือไม่เล็กจนเกินไป รวมๆบล็อกน่ารักคะ
    เนื้อหาแน่นๆๆ

    ตอบลบ
  3. เข้าใจง่ายมากค่ะ ชอบบบบบ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหากระชับ​ง่ายต่อการทำความเข้าใจ​ สีสันรูปภาพก็สวยงาม

    ตอบลบ
  5. เนื่อหาดีมากค่ะ อ่านง่าย ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  6. สรุปเข้าใจง่ายค่ะ รวมสวยงามคร่าาาา

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. ขอบคุณสาระดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  9. สาระเนื้ออ่านมากค่ะ อ่านง่านดี

    ตอบลบ
  10. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  11. ขอบคุณครับ เนื้อหาดีมากเลย

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2561 เวลา 08:54

    ดีจ้าาาา

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ17 ธันวาคม 2561 เวลา 08:55

    เนื้อหาน่าสนใจมากครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ25 กรกฎาคม 2566 เวลา 00:06

    ดีมากกกกกก

    ตอบลบ